Olympus 35 DC
Olympus 35 DC
(1 )
เกิดเมื่อปี 1971 ถึงปี 1974 ถือเป็นกล้องในซีรี่ย์ Olympus 35 ที่มีชื่อโคตรน่าปวดหัว พี่แกเล่นต่ออักษรหลังเลข 35 ได้ใกล้และเยอะมาก ไล่มาตั้งแต่ ED , RD , RC , EC ยันมา DC ไอ้ตัวอื่นนี่ขอข้ามไปก่อน ( แต่สรุปสั้นๆว่า DC เป็นตัวถูกลงของ RD ซึ่งถือเป็นตัวแรงของซี่รี่ย์ ) จริงๆแล้วเป็นซีรี่ย์กล้อง Full Frame ขนาดพกพาที่มีคาแรคเตอร์ที่แตกต่างกันชัดเจนดี ถึงแม้ว่าหน้าตาจะคล้ายกันบ้างในบางตัว แต่จุดเด่นต่างกัน อย่างเจ้า 35 DC นี่ถือว่าจุดเด่นอยู่ที่เล็กและเลนส์สุดยอดไว คือ F1.7 กว้างพอจะถ่ายในที่แสงน้อย
(2)
สเปคหลักของ Olympus 35 DC คือมันมีเลนส์ F.Zuiko F=40 mm 1:1.7 ซึ่งระยะเลนส์ 40mm ก็เป็นมาตรฐานของกล้องประเภทนี้ ถ่ายระยะสายตาแอบ Wide หน่อยๆ ข้อดีอย่างที่บอกว่ามันกว้างพอจะถ่ายที่มืดสบาย การทำงานมันคือัตโนมัติหมด คือไม่ต้องเลือกรูรับแสงและความเร็วชัตเตอร์เองเลย Point & Shoot แท้ๆ กล้องจัดการให้หมด ซึ่งรูรับแสง F 1.7 – 16 และความเร็วชัตเตอร์ 1/15 – 1/500 sec. เพียงพอสำหรับถ่ายทั่วไป (แต่ไม่มี Shutter B ที่สามารถกดค้างได้นานเท่าที่ต้องการ)
จุดเด่นอีกอย่างนึง น้ำหนัก 490 กรัม ทำให้พกสบายมาก เราเดินถือ ใส่กระเป๋าสะพายไว้อยู่หลายวัน สะวกมาก ยกขึ้น Snap สบาย เช่นในห้าง ก็ยกปุ๊ปเล็งโฟกัส กดเลย เรื่องการพกพาและน้ำหนักนี่เราซีเรียสมาก เพราะเป็นคนชอบพกไปทุกที่
การใช้งานจริง เราเทสเจ้านี่ด้วยฟิล์ม Kodak Color Plus 200 ซึ่งถือว่ากลางๆ ใช้บ่อยจะได้เทียบกับตัวอื่นๆได้
ช่องมองภาพมันก็จะบอกการวัดแสงว่า กดชัตเตอร์ไปครึ่งนึง แสง ณ จุดที่เราจะถ่าย กล้องตั้งรูรับแสงอะไรให้เรา ความเร็วชัตเตอร์เป็นเท่าไหร่ ( มันจะทำงานไม่อิสระจากกันนะ คือตายตัวเลยว่า F16 จะมาคู่กับความเร็วชัตเตอร์ 1/500 sec แบบนี้เป็นต้น ถึงจะไม่ยืดหยุ่นไปหน่อย แต่ก็ทำงานได้ดีเลยล่ะ ) ซึ่งเราไม่มีโอกาสเลือกอะไรเองทั้งนั้น คนที่ชอบ Manual นี่จะมาบอกไม่ดีไม่ได้นะ ลักษณะงานมันต่างกัน ถ้าพูดถึงเน้นง่าย มันก็เกิดมาเพื่อง่ายจริงๆ ดูแค่ว่าแสงนี้น้อยหรือมากเกินประสิทธิภาพที่กล้องจะทำงานได้หรือเปล่าแค่นั้นเลย
(3)
จุดเด่นอีกอย่างที่เราลองเป็นรูปแรกๆเลย คือ BLC (Black Light Control) เป็นการเพิ่ม Stop +1.5EV เพื่อชดเชยแสงให้มันสว่างขึ้นกว่าที่วัดแสงได้ เราจะใช้ฟังค์ชั่นนี้บ่อยๆก็คือถ่ายย้อนแสง เช่นภาพนี้ที่เราถ่ายดอกไม้ให้ย้อนแสง ก็กดปุ่ม BLC ค้างไว้ แล้วกดชัตเตอร์
(4)
การถ่ายพวกมิติต่างๆ เราลองถ่ายอะไรที่มีใกล้ มีกลาง มีไกลในภาพเดียว ก็ถือว่าใช้ได้ แต่ก็กำหนดอะไรยากมาก เพราะระบบกล้องถูกตั้งมาให้อัตโนมัติแบบนี้ ถ้าอยากถ่ายให้เป็นมิติ มีตื้นมีลึก ก็ยากหน่อย
การถ่ายในที่แสงน้อย การถ่ายในที่แสงน้อยได้ดี อย่างแรกคือเลนส์ต้องกว้างพอ อีกข้อคือเลนส์เอง Contrast ต้องดีด้วย ถึงออกมาสวย (แต่ภายใต้ข้อจำกัดของมันคือ ล็อครูรับแสงไว้ที่ 1.7 กับความเร็วชัตเตอร์ 1/15 sec ทำให้มือก็ต้องนิ่งมากๆ
แหล่งอ้างอิง:(1)https://www.google.co.th/search?q=Olympus+35+DC&source=lnms&tbm=isch&sa=X&ved=0ahUKEwjIkNfi-ODWAhWKRY8KHTKKAEMQ_AUICigB&biw=1366&bih=613#imgrc=4xiwnau53RskJM:
(2) https://www.youtube.com/watch?v=JLRG-z3gTtA
แหล่งอ้างอิง:(1)https://www.google.co.th/search?q=Olympus+35+DC&source=lnms&tbm=isch&sa=X&ved=0ahUKEwjIkNfi-ODWAhWKRY8KHTKKAEMQ_AUICigB&biw=1366&bih=613#imgrc=4xiwnau53RskJM:
(2) https://www.youtube.com/watch?v=JLRG-z3gTtA
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น